• product
  • service2
  • กองทุน
  • coffee-banner
  • scb banner11

ข่าวประชาสัมพันธ์

สินค้าและโปรโมชั่น

ว่านกาบหอย

สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนหนองไผ่: ว่านกาบหอย

32 สรรพคุณและประโยชน์ของว่านกาบหอย ! (ต้นกาบหอยแครง)

 

ว่านกาบหอย

ชื่อวิทยาศาสตร์  Tradescantia spathacea Sw

ชื่อวงศ์  (COMMELINACEAE)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของว่านกาบหอย

ว่านกาบหอย จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุ 3-5 ปี มักขึ้นเป็นกอๆ ไม่มีการแตกกิ่งก้าน ลำต้นอวบใหญ่ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-5 เซนติเมตร ความสูงของต้นประมาณ 30-50 เซนติเมตร ใบเดี่ยวรูปหอกยาว หรือรูปแกมขอบขนานปลายแหลม ใบมีลักษณะหนาแข็งและตั้งตรง มีความกว้าง 2-6 เซนติเมตร ยาว 10-30 เซนติเมตร หน้าใบสีเขียวเข้ม หลังใบสีม่วง ออกดอกที่โคนใบ มีกาบใบ 2 ใบหุ้มอยู่ คล้ายเปลือกหอยแครง ดอกสีขาวขนาดเล็ก ดอกหนึ่งมี 3 กลีบ กลีบดอกรูปไข่ กลมรี ผลเป็นผลแห้ง เมื่อแตกออกจะแยกออกเป็น 2-3 แฉก รูปกระสวย

สรรพคุณของว่านกาบหอย

ตามตำราของประเทศต่างๆ พบว่าว่านกาบหอยมีสรรพคุณดังต่อไปนี้

  • ตามตำรายาไทยใช้ใบสดของกาบหอยแครงหรือว่านกาบหอยเป็นยาแก้เจ็บคอแก้ไอ โดยใช้ใบสด 3 ใบ นำมาต้มผสมกับน้ำตาลกรวดเล็กน้อย ดื่มเป็นยา และนำไปเข้าตำรับยาแก้พิษไข้หรือโลหิตเป็นพิษ
  • ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน กล่าวว่า ใบและดอกของว่านกาบหอยหรือกาบหอยแครงมีรสจืดชุ่ม เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ที่ตับและปอด ใช้เป็นยาทำให้เลือดเย็นแก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ไอ แก้ร้อนในปอด แก้ไอเป็นเลือด แก้เลือดกำเดา แก้ปัสสาวะเป็นเลือด แก้ถ่ายเป็นเลือด แก้บิดท้องร่วง แก้ฟกช้ำ และใช้เป็นยาห้ามเลือด ใช้ดอกของว่านกาบหอยเป็นยาแก้อาการตกเลือดในลำไส้
  • แพทย์พื้นบ้านของประเทศอินเดียจะใช้ใบว่านกาบหอยผสมกับน้ำมันงา ใช้เป็นยาพอกรักษาโรคผิวหนัง และโรคเท้าช้าง
  • ในประเทศไต้หวันจะใช้กาบหอยแครงทั้งต้นมาตำพอแหลก ใช้เป็นยาพอกแผล มีดบาด เพื่อห้ามเลือดและแก้อาการบวมอักเสบ

เศรษฐีเงินหนุน

Image result for เศรษฐีเงินหนุน

เศรษฐีเงินหนุน

ชื่อวิทยาศาสตร์ Heritiera angustata Pierre

ชื่อวงศ์ MALVACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น เป็นไม้ยืนต้นสูง 5-8 เมตร แตกกิ่งก้านต่ำเป็นพุ่มโปร่ง เปลือกต้นสีเทา

ใบ ใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ปลายและโคนใบแหลม ใบมีขนาดใหญ่ สีเขียวสด

ดอก ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามซอกใบ แต่ละช่อมีดอกย่อยไม่น้อยกว่า 30-40 ดอกขึ้นไป ก้านช่อดอกมีขนละเอียดสีน้ำตาล กลีบเลี้ยงเล็กและสั้น สีน้ำตาล ดอกโคนเชื่อมกันเป็นหลอดรูประฆัง ปลายกลีบดอกแยกเป็นแฉก 4-6 แฉก ปลายกลีบแหลม ขอบกลีบเป็นสีขาว ผิวดอกด้านนอกเป็นสีชมพูสดใสและสีชมพูเข้ม มีกลิ่นหอม การติดดอก เมษายน-สิงหาคม

ประโยชน์

เป็นไม้ประดับและไม้ร่มเงา

มะม่วงแก้วลืมรัง

มะม่วงแก้วลืมคอน" ผู้ปลูกผู้กินชื่นชอบ

 

มะม่วงแก้วลืมรัง

ชื่อวิทยาศาสตร์  Mangifera indica Linn.

ชื่อสามัญ Mango (Kratae Luemrang)

ชื่อวงศ์  ANACARDIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เป็นไม้ยืนต้นสูง 10-15 เมตร แตกกิ่งก้านสาขาเยอะ เป็นพุ่มทรงกลม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่รอบกิ่งก้านหนาแน่นบริเวณปลายกิ่ง ใบเป็นรูปใบหอก ปลายแหลม โคนมน เนื้อใบค่อนข้างหนา ขอบใบเรียบ หน้าใบเป็นสีเขียวและเป็นมัน หลังใบเป็นสีเขียวด้าน ใบดกให้ร่มเงาดีมาก ดอก ออกเป็นช่อแบบแยกแขนงช่อที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกเป็นสีเหลืองหรือสีขาวนวล มีกลิ่นหอมเย็น เวลาเข้าไปยืนใต้ต้นหรือยืนใกล้ๆต้นจะได้กลิ่นหอมชื่นใจ “ผล”ของ “มะม่วงแก้วลืมรัง” เป็นรูปกลมรี ยาว โหนกผลไม่สูง

มะม่วงพันธุ์แก้วลืมรัง มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น คือมีรสชาติหวานจัด เปรียบเหมือนนกแก้วกินยังหวานจนลืมรัง  ลักษณะผลเรียวยาว ผลออกแนวแบนนิดๆ ไม่กลมมาก ปลายผลเรียวงอนิดๆไม่งอมากเท่างา นิยมกินสุกหวานอร่อยมาก เนื้อแน่น กินกับข้าวเหนียวมะม่วงอร่อย นิยมส่งออก สายพันธุ์ไม่แพร่หลาย ออกมาช่วงสั้นๆก็หมด เป็นมะม่วงเฉพาะถิ่น

มะม่วงอกร่อง

Image result for มะม่วงอกร่อง

มะม่วงอกร่อง

ชื่อวิทยาศาสตร์  Mangifera indica Linn.

ชื่อวงศ์  Anacardiaceae

เป็นมะม่วงพันธุ์ท้องถิ่นของไทย พบปลูกมากในทุกครัวเรือนเพื่อรับประทานผลสุก ที่ให้รสหวานจัด หวานมากกว่ามะม่วงทุกชนิด และใช้ผลดิบสำหรับประกอบอาหาร อาทิ ข้าวคลุกกะปิ น้ำพริกมะม่วง และเมนูยำต่างๆ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดกลาง มีอายุประมาณ 15-25 ปี ลำต้นเพลาตรง สูงประมาณ 5-15 เมตร ลำต้นแตกกิ่งหลัก และกิ่งแขนงมาก ทำให้แลดูเป็นทรงพุ่มหนาทึบ เปลือกลำต้นสีเทาอมดำ

ผลมะม่วงอกร่อง มีรูปไข่ อวบใหญ่ และค่อนข้างแบนเล็กน้อย ส่วนบนบริเวณขั้วมีขนาดใหญ่ ด้านหน้าผลโค้งนูน และค่อยเล็กคอดลงทางปลายผลด้านล่าง โดยพันธุ์ดั้งเดิมจะมีร่องตื้นในแนวตั้งตรงกลางบริเวณด้านหน้าผล ขนาดผลกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5-10เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อนหรือหรือเขียวอมเหลือง ผลสุกมีสีเหลืองครีมหรือเหลืองอมส้ม เปลือกผลค่อนข้างบาง ส่งกลิ่นหอมแรง และหอมมากกว่ามะม่วงพันธุ์อื่นๆ ส่วนเนื้อผลมีสีเหลืองอมขาวหรือเหลืองครีม เนื้อผลละเอียด ฉ่ำด้วยน้ำหวาน มีเสี้ยนที่ติดจากส่วนเมล็ดเล็กน้อย มีกลิ่นหอม และมีรสหวานจัดมากกว่ามะม่วงทุกสายพันธุ์ ส่วนเมล็ดมีลักษณะคล้ายผลด้านนอก คล้ายรูปไต มีลักษณะแบน ส่วนขั้วเมล็ดใหญ่ และหนา