• product
  • service2
  • กองทุน
  • coffee-banner
  • scb banner11

ข่าวประชาสัมพันธ์

สินค้าและโปรโมชั่น

ตะขบยักษ์

Image result for ตะขบยักษ์

 

Image result for ตะขบยักษ์

ตะขบยักษ์

ชื่อวิทยาศาสตร์ FLACOURTIA INDICA (BURMF) MERR PLACHNELLA SIAMENSIS

ชื่อวงศ์ FLACOURTIACEAE

ชื่อท้องถิ่นอื่น หมักเบ็น (นครราชสีมา), เบนโคก (อุบลราชธานี), ตานเสี้ยน มะแกว๋นนก มะแกว๋นป่า (ภาคเหนือ), มะเกว๋น (เมี่ยน, คนเมือง), ตะเพซะ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), บีหล่อเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), ตุ๊ดตึ๊น (ขมุ), ลำเกว๋น (ลั้วะ), มะขบ เป็นต้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ จัดเป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 2-15 เมตร เรือนยอดแผ่กว้าง ปลายกิ่งโค้งลง ตามลำต้นและกิ่งใหญ่จะมีหนามแหลม กิ่งอ่อนจะมีหนามแหลมตามซอกใบ หนามยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร ส่วนกิ่งแก่ ๆ มักจะไม่มีหนาม เปลือกต้นเป็นสีเหลืองอมเทาแตกเป็นร่องลึก มีช่องอากาศรูปรีกระจายแบบห่าง ๆ พบขึ้นตามป่าเต็งรัง ป่าโปร่ง ป่าดิบแล้ง ป่าผสมผลัดใบ ป่าเบญจพรรณ และตามป่าชายหาด ตลอดจนตามริมแม่น้ำ ชอบพื้นที่กลางแจ้ง ทนแล้งและน้ำท่วมขังได้ดี

ดอก ออกเป็นช่อกระจะที่ซอกใบและปลายกิ่ง มีดอกย่อยไม่มากนัก เป็นดอกแยกเพศอยู่คนละต้น ไม่มีกลีบดอก มีเกสรสีเหลืองปนขาวจำนวนมาก

ผล เป็นรูปทรงกลม ผลโตเต็มที่เกือบเท่าผลมะนาว หรือลูกปิงปอง ผลดิบสีเขียว สุกเป็นสีแดงคล้ำ หรือ สีม่วงดำ เนื้อรสหวานหอม มีเมล็ด 5-8 เมล็ด 

กาขยายพันธุ์ ด้วยเมล็ด และตอนกิ่ง

 

 

 

มะม่วงมันขายตึก

Image result for มะม่วงมันขายตึก

มะม่วงมันขายตึก

ชื่อวิทยาศาสตร์: Mangifera indica L.

ชื่อสามัญ: Mango

วงศ์: 
ANACARDIACEAE

มะม่วงพันธุ์นี้มีมานานแล้ว ปลูกกันมา 40-50 ปี ปลูกมากที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ลักษณะเด่นคือ ปลูกง่าย ดูแลรักษาง่าย ถ้าต้นที่เกิดจากการทาบกิ่ง 3 ปีก็เก็บผลได้แล้ว เนื้อผลเยอะสีเหลืองขมิ้น แม้ยังไม่แก่จัด ไม่มีเสี้ยน เมล็ดลีบ ผลดิบสีเขียว รสชาติหวานมันปนเปรี้ยวนิด ๆ กรอบเหมือนมะม่วงมัน นิยมปลูกเพื่อรับประทานผลดิบ ราคาขายตกกิโลกรัมละ 40-50

ลักษณะทางพฤษศาสตร์ เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร แตกกิ่งก้านหนาแน่นเป็นพุ่มกว้าง

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับจำนวนมากบริเวณปลายยอด ใบเป็นรูปใบหอก ปลายใบแหลมโคนใบมน ขอบใบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างหนา ผิวใบเรียบเป็นมัน สีเขียวสด ใบดกให้ร่มเงาดี

ดอก ออกเป็นช่อแบบแยกแขนงช่อที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกเป็นสีขาวหรือสีเหลืองนวล มีกลิ่นหอมอ่อนๆ เวลามีดอกดกเข้าไปยืนใกล้ๆต้นจะได้กลิ่นหอมจากดอกอย่างชัดเจน ซึ่งในยุคสมัยก่อนจำได้ว่า เมื่อต้นมะม่วงเริ่มแทงช่อดอก จะต้องเตรียมตัวอ่านหนังสือ เพื่อสอบภาคปลายหรือสอบใหญ่ประจำปี “ผล” กลมรีโหนกสูง แก้มผลเต็ม เมล็ดลีบบางทำให้มีเนื้อเยอะ ผลดิบสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีเหลือง เนื้อในสุกไม่เละ รสชาติหวานหอม รับประทานอร่อยทั้งผลดิบและผลสุก ผลโตเต็มที่มีน้ำหนักเฉลี่ยระหว่าง 3 ผล ต่อ 1 กิโลกรัม ซึ่ง “มะม่วงมันขายตึก” จัดเป็นมะม่วงพันธุ์เบา หมายถึงมีดอกและติดผลได้ง่าย ติดผลดกมากปีละครั้งตามฤดูกาล หรือนิยมเรียกกันว่า “มะม่วงปี”

ขยายพันธุ์   ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด

ต้นเสลา

Image result for ต้นเสลา

ต้นเสลา

ชื่อวิทยาศาสตร์ Lagerstroemia loudonii Teijsm. & Binn.

ชื่อวงศ์  LYTHRACEAE

ชื่ออื่น ตะเกรียบ ตะแบกขน เสลาใบใหญ่ อินทชิต

ลักษณะทางพฤษกศาสตร์

ไม้ต้น  ผลัดใบขนาดกลาง สูง 10 - 20 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมแน่น ทึบสีเขียวเข้ม กิ่งมักย้อยห้อยลง

เปลือก สีเทาดำ มีรอยแตกระแหงเป็นทางยาวตลอดลำต้น 

ใบ  ใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม แผ่นใบยาวแบบรูปขอบขนานกว้าง 6 - 10 เซนติเมตร ยาว 16 - 24 เซนติเมตร ปลายใบแหลมเป็นติ่งยาวเล็กน้อย โคนมน  ผิวใบมี ขนปุยอ่อนนุ่ม  ทั้ง 2 ด้าน 

ดอก  สีม่วงสดเวลาดอกบานช่อดอกจะแน่นเป็นรูปทรงกระบอกก้านช่อดอกและกลีบรองกลีบดอกมีขนนุ่ม สีเหลืองปกคลุมทั่วไป กลีบดอกมักมี 6,7 หรือ 8 กลีบที่ผิวนอกของกลีบรองกลีบดอกรูปถ้วยเมื่อ บาน มีขนาดกว้าง 6.8 -8.2  เซนติเมตร 

ผล  เกือบกลมผิวแข็ง ยาวประมาณ 1.5 - 2.1 เซนติเมตร ผลแห้งแตกตามยาว 5 - 6 พูเมล็ด จำนวนมาก มีปีก

ออกดอก มีนาคม - เมษายน ผลแก่ประมาณเดือน พฤศจิกายน เก็บเมล็ดเดือน ธันวาคม – กุมภาพันธ์

การใช้งานและอื่นๆ  ปลูกในสวน ริมถนน ริมทางเดิน ระยะปลูกที่เหมาะสม 4 – 8 เมตร ทนแล้งและทนดินเค็ม นิยมนำเนื้อไม้มาแกะสลัก เป็นพรรณไม้ประจำจังหวัดนครสวรรค์

ข้อควรระวัง :  ต้นเสลาเป็นไม้ยืนต้นสูง ทรงพุ่มแน่น เวลาที่ต้นทิ้งใบเตรียมออกดอก ใบจะร่วงเต็มโคนต้น หลังจากออกดอกแล้วดอกก็จะร่วงตามมาเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นใครที่อยากได้เสลาไปปลูกไว้ที่บ้านก็ต้องทำใจได้กับใบและดอกที่จะร่วงเต็มพื้น

มะม่วงแดงจักพรรดิ

มะม่วงแดงจักพรรดิ

Image result for มะม่วงจักรพรรดิ์แดง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Mangifera indica L.

ชื่อสามัญ: Mango

วงศ์: 
ANACARDIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เหมือนกับมะม่วงทั่วไป คือ เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-20 เมตร ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายแหลม โคนมน แต่ใบมีขนาดใหญ่และยาวดูคล้ายใบของมะม่วงเขียวใหญ่มาก ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกมีกลิ่นหอม “ผล” รูปกลมรียาวและอ้วนใหญ่ ผลโตเต็มที่มีน้ำหนักเฉลี่ยระหว่าง 1 กิโลกรัม ต่อผล ผลเป็นสีม่วงเข้มตลอดทั้งผลสวยงามมาก รสชาติอร่อยทั้งผลดิบและสุก

มีถิ่นกำเนิด

ที่ไต้หวันและเป็นมะม่วงลูกผสมระหว่างพันธุ์ จินหวง กับมะม่วงพันธุ์ “อ้ายเหวิน” (มะม่วงอ้ายเหวินเป็น มะม่วงสายพันธุ์เดียวกับพันธุ์เออร์วิน) มะม่วงลูกผสมสายพันธุ์นี้ได้มีการนำยอดพันธุ์มาเสียบยอดในประเทศไทยประมาณ 4-5 ปีมาแล้ว 

มะม่วงแดงจักพรรดิ์หรือยู่เหวิน มะม่วงชนิดนี้ เกิดจากการผสมเกสรของมะม่วงชื่อดัง 2 สายพันธุ์ของประเทศไต้หวัน คือ ระหว่าง มะม่วงอ้ายเหวิน กับ มะม่วงจีนหวง เมื่อได้ลูกไม้ใหม่ออกมานำไปปลูกจนต้นโตและติดผลมีลักษณะดีกว่ามะม่วงที่เป็นสายพันธุ์พ่อและแม่อย่างชัดเจนหลายจุด เช่น ผลมีขนาดใหญ่กว่า ติดผลดก สีสันของผลเป็นสีม่วงเข้ม ทำให้เวลาติดผลทั้งต้น ผลห้อยเป็นระย้าดูสวยงามมากส่วน รสชาติของผลขณะยังดิบหรือห่ามจะหวานมันปนเปรี้ยวนิดๆ อร่อยเหมือนกินมะม่วงมันทั่วไปทุกอย่าง เมื่อผลสุกเนื้อในผลจะเป็นสีเหลืองเข้ม เนื้อไม่เละ ไม่มีเสี้ยน รสชาติหวานหอมชื่นใจมาก 

วิธีปลูก อาจจะใช้กิ่งตอน,กิ่งทาบ และการเพาะเมล็ด แต่ทุกวิธีต้องทำด้วยความระมัดระวังรากเป็นพิเศษ อย่าให้รากขาด เพราะจะทำให้ต้นชะงักการเติบโต หรือแย่ที่สุดคือตาย ทั้งนี้ การ “ทาบกิ่ง” จะเป็นที่นิยมมากกว่าการเพาะเมล็ดซึ่งทำให้เกิดการกลายพันธุ์ได้ง่าย จึงเป็นวิธีที่เหมาะที่สุดสำหรับมะม่วง แถมยังออกดอกผลเร็วกว่าการปลูกด้วยเมล็ด ส่วนการตอนกิ่ง ก็นิยมเช่นกันเพราะว่าพอตัดไปปลูกแล้วจะได้ต้นแบบเหมือนต้นแม่ ลดการกลายพันธุ์ แต่ข้อเสียคือรากของพืชไม่ค่อยแข็งแรง เพราะไม่มีรากแก้ว